อภิชาติออนไลน์

e-Learning, CAI, Moodle, Web-baesd Instruction, Web-based Technical Practice Instruction

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

blended Learning รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

Blended Learning เป็นการบูรณาการ online learning และ face-to-face meetings เข้าด้วยกันข้อสมมติของชุมชนการเรียนรู้ในลักษณะนี้ คือ 1) ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ และร่วมมือกันที่ลึกซึ้งขึ้น 2)ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน จะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มที่มีการจัดวางการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก่อน และ/หรือหลังจากมีface-to-face learning แล้ว ก็ได้ ซึ่งอาจจะรวมถึง pre-event activities เพื่อ warm-up ก่อนมีการประชุมเป้าหมายก็เพื่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในระหว่างผู้เรียน สร้างความรู้สึกการเป็นทีมร่วมกันซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการทำงานกลุ่ม อาจมีการปฐมนิเทศ แนะนำ ชี้แจง ก่อนเรียนทางWeb conferences, online discussions, และ conference ซึ่งจะทำให้มีการเปิดใจกว้าง ที่จะเรียนรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กัน ถ้าหากสุดท้ายผู้เรียนจะต้องมาพบกันในชั้นเรียนแบบเดิมหรือในอีกกรณีตัวอย่างหนึ่ง คือการให้มี Follow-up learning community หลังจาก มี face-to-face eventแล้ว ชุมชนการเรียนรู้ในลักษณะนี้ อาจด้วยการให้ผู้เรียนทำ group projects, discussing researchfindings, และ mentoring peers เป็นต้น หรือลักษณะ end-to-end communities ที่รวมทั้ง pre-event และfollow-up learning activities ด้วย ผู้เรียนบางคนอาจชอบ end-to-end community มากกว่า เพราะface-to-face meeting แบบปกติ มักเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ที่จะมาร่วมมือกันทำงานตัวอย่างเช่น ครูอาจใช้ ice-breaker community สำหรับ prework และแนะนำ เรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน ใช้face-to-face experiential workshop ในการให้ความชัดเจนเรื่องจุดประสงค์การเรียนของแต่ละคน และใช้follow-up community ในการ coaching และ mentoring เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551

ระบบบริหารการเรียนรู้ (Learning Management System:LMS)

ปัจจุบัน e-Learning ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในด้านการเรียนการสอน การฝึกอบรม สถานศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ มีการนำ e-Learning มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น การใช้ e-Learning ที่จะประสบผลสำเร็จต้องอาศัยระบบบริหารการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS)

มารู้จักกับ (Learning Management System: LMS)
- LMS เป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากใน e-Learning ดังคำกล่าวที่ว่า “that if course content is King, then infrastructure (LMS) is God” โดย LMS เป็นแอพพลิเคชันที่มาช่วยจัดการ และควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมดของ e-Learning อาศัยการติดตามผล วิเคราะห์ และรายงานถึงประสิทธิภาพของระบบฝึกอบรม รวมทั้งช่วยในการจัดการฐานข้อมูลความรู้ของหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจในยุค New Economy ประสบผลสำเร็จ
- LMS ก็เปรียบเสมือนกับโรงเรียน เมื่อคุณล็อกอินเข้าสู่ระบบ LMS เพื่อเข้าเรียน ก็เหมือนกับคุณก้าวเท้าเข้าสู่ประตูโรงเรียน คุณสามารถทำอะไรก็ได้ใน LMS เหมือนกับที่คุณทำได้ในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิชาที่จะลงเรียน การเข้าไปอ่านเนื้อหาของบทเรียน ทำแบบฝึกหัด ทำแบบทดสอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอน หรือนักเรียนคนอื่นๆ อาจารย์ผู้สอน, ผู้ดูแลระบบ, ผู้จัดการ สามารถสังเกตุดูพฤติกรรมการเข้าเรียนของคุณผ่านข้อมูลที่ได้ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของ LMS ปัจจุบันระบบของ LMS นี้จะมีอยู่สองรูปแบบคือรูปแบบของ ซอฟต์แวร์ปกติ และ ASP (Application Service Provider) ซึ่งแบบหลังก็เหมือนกับการใช้บริการ ซึ่งการเลือกใช้ LMS ระบบใดก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างของหน่วยงาน

Learning Management System ที่ดีต้องมีความสามารถดังนี้
- สนับสนุนระบบ e-learning แบบ blended learning โดยจะต้องมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างการเรียนในห้องเรียนจริง และห้องเรียนเสมือน เพราะแนวโน้มของ e-learning กำลังไปในทิศทางของ blended learning
- LMS จะต้องสามารถใช้งานร่วมกับระบบของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource System) ได้ ทั้งนี้เพราะข้อมูลการเรียน และการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนเป็นข้อมูลหนึ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อการคัดสรรและพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้เหมาะกับงาน
- ผู้ดูแลระบบ หรืออาจารย์ผู้สอน จะต้องมีความสามารถในการจัดการ และกำหนดกฎต่างๆ ให้เข้ากับผู้เรียนแต่ละรายได้ และมีความสามารถในการติดตามดูพฤติกรรม และจัดทำรายงานต่างๆ เพื่อประมวลผล
- มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ LMS จะต้องสามารถใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ประเภท Courseware ได้จากหลากหลายค่ายโดยไม่มีปัญหา และการนำบทเรียนจากหลายๆ ที่เข้ามาใช้งานในระบบต้องถูกออกแบบให้ทำได้โดยวิธีง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก
- LMS จะต้องสนับสนุนการใช้งานตามมาตรฐาน และข้อกำหนดต่างๆ ที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น SCORM และ AICC
- LMS จะต้องมีกลไกลในการคำนวณ, การทดสอบ, การประมวลผลความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนผ่านไปแล้ว
- ความสามารถด้าน Skills management จะช่วยในการจัดการควบคุม และวิเคราะห์ความสามารถของพนักงานของหน่วยงาน ว่ามีทักษะความรู้ความสามารถ หรือเชี่ยวชาญในเรื่องใดเป็นพิเศษ หรือจำเป็นต้องเพิ่มทักษะความรู้ในด้านใดบ้าง
- LMS จะต้องมีเครื่องมือที่สนับสนุนกิจกรรม การเรียนร่วมกันของผู้เรียน เช่น กระดานข่าว, ห้องสนทนา, ระบบช่วยเหลือแบบออนไลน์, help desks เป็นต้น ความสามารถนี้จะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนมา กับผู้เรียนคนอื่นๆ
- มีความสามารถในการจัดการคอนเท็นต์ และบทเรียนอยู่บ้าง เช่น การโยกย้าย เปลี่ยนแปลง แก้ไขเนื้อหาในบทเรียน แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญมากนักสำหรับองค์กรที่เพิ่งเริ่มใช้ e-learning และระบบที่สามารถจะจัดการกับคอนเท็นต์ในระดับลึกๆ นั้นเป็นหน้าที่ของระบบ LCMS มากกว่า

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การทำ CAI เผยแพร่บนเว็บ โดยใช้โปรแกรม Authorware

ปกติแล้วเราจะพัฒนา CAI ด้วยโปรแกรม Macromedia Authorware เมื่อเสร็จแล้วก็จะ package ใส่แผ่น CD-ROM แต่เมื่อวานผมอยากลองทำขึ้นเว็บดู เพราะไม่ค่อยได้เห็นตัวอย่างงานสักเท่าไหร่ ผมใช้ Authorware 6 เวลาจะทำขึ้นเว็บก็ไปที่ publish แล้วไปที่ publish setting เลือกค่าตามที่ต้องการ แล้วคลิกที่ puslish ก็เสร็จแล้ว หลังจากนั้นก็ upload ขึ้น server และเวลาเรียกผ่าน internet explorer จำเป็นต้องติดตั้ง Authorware web player ด้วยนะครับ ลองดูตัวอย่างครับ http://www.chontech.ac.th/~abhichat/cai_web/Published Files/Web/practi.htm